วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

งานท้องถิ่นไทย ใบงานที่2



                                              ใบงานบทที่     2

จงอธิบายถึงพัฒนาการของการบริหารงานท้องถิ่นโดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475กับหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ว่ามีสาระสำคัญอย่างไร
                  การปกครองท้องถิ่นของประเทศไทยในยุคเริ่มต้นได้รับอิทธิพลทางความคิดจากประเทศตะวันตกและชนชั้นสูงที่เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศมิได้เกิดขึ้นจากข้อเรียกร้องและความต้องการของประชาชนภายในท้องถิ่น จนกระทั่งปี .. 2530 กระแสแนวความคิดเรื่องการกระจายอำนาจและการปกครองตนเองของท้องถิ่นเริ่มเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นซึ่งต่อมานาไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่สุดจากการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย .. 2540 ที่ได้กำหนดหลักการและวิธีการในการปกครองท้องถิ่นเอาไว้อย่างละเอียดและชัดเจนกว่ารัฐธรรมนูญที่เคยมีมาในอดีตอันนาไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ โครงสร้างและการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบัน

พัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475
                      การปกครองท้องถิ่นของไทยในรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เริ่มกำเนิดขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้ทรงให้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพขึ้นในปี พ.. 2440 ภายใต้กฎหมายซึ่งอาจถือว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นฉบับแรกคือพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพ ฯ ร.. 116 เพื่อทำหน้าที่ในการรักษาความสะอาด ตลอดจนดำเนินการจัดเก็บและกาจัดขยะมูลฝอยและสิ่งโสโครกต่าง ๆ สุขาภิบาลกรุงเทพ บริหารงานในรูปของคณะกรรมการ ประกอบด้วยเสนาบดี กระทรวงนครบาลเป็นประธานคณะกรรมการ เจ้าพนักงานแพทย์สุขาภิบาลและเจ้าพนักงานช่างใหญ่สุขาภิบาลเป็นคณะกรรมการ มีอำนาจในการตัดสินใจในกิจการต่าง ๆ ของสุขาภิบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ของสุขาภิบาลเป็นผู้ปฏิบัติงาน  แม้ว่าการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพไม่เป็นไปตามหลักการของการปกครองท้องถิ่น ซึ่งจะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น  แต่ในสภาพสังคมซึ่งประชาชนยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในการปกครองท้องถิ่นมากนักก็ถือได้ว่าเป็น จุดเริ่มต้นของการกระจายอำนาจ  ในการบริหารจัดการแก่ท้องถิ่นในระดับหนึ่งต่อมาในปี พ.. 2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้กล่าวตำหนิในที่ประชุมเสนาบดีว่าตลาดท่าจีน ตำบลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาครไม่มีความเป็นระเบียบและสกปรกมาก สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงได้กล่าวตำหนิ ไปยังข้าราชการเมืองสมุทรสาครทำให้เกิดการปรับปรุงพัฒนาดีขึ้น ข้าราชการพ่อค้าและประชาชนในตำบลท่าฉลอมได้ร่วมมือกันจัดระเบียบและปรับปรุงความสะอาด  ในเขตพื้นที่ของตนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพอพระราชหฤทัยและเห็นว่าการบริหารจัดการลักษณะนี้  สอดคล้องกับระบบการบริหารที่ใช้กันอยู่ในแหลมมลายู  ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประกาศแก้ไขกฎหมายภาษีโรงร้านและจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม เมืองสมุทรสาครเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.. 2449 และเริ่มดำเนินกิจการเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.. 2449  การดำเนินการของสุขาภิบาลท่าฉลอมได้ผลดี เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงดำริที่จะให้มีการนำการบริหารจัดการชุมชนเช่นเดียวกับสุขาภิบาลท่าฉลอมไปใช้กับท้องถิ่นอื่น ๆ ด้วย แต่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ท้วงติงว่า ควรจะปล่อยให้เป็นความประสงค์ของราษฎรในท้องถิ่นไม่ควรเกิดขึ้นจากการกำหนดหรือการบังคับจากรัฐบาล หากจะดำเนินการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในหัวเมืองต่าง ๆ ก็อาจจะตราเป็นกฎหมายซึ่งกำหนดรูปแบบ วิธีการดำเนินการ รวมถึงหลักเกณฑ์ของชุมชนที่เหมาะสมจะจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในหัวเมืองต่าง ๆ ในลักษณะของหลักเกณฑ์ทั่วไป ท้องถิ่นใดเข้าตามหลักเกณฑ์และประสงค์จะจัดตั้งสุขาภิบาลก็ให้เสนอกระทรวงมหาดไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นด้วยกับความคิดนี้   หลักเกณฑ์และวิธีการจัดตั้งสุขาภิบาลในหัวเมืองอื่น ๆ ได้กำหนดขึ้นโดยการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.. 127 โดยมีสาระสำคัญว่า เมื่อข้าหลวงเทศาภิบาลเห็นสมควรจัดการให้มีสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่ใดก็ได้ให้ปรึกษาหารือกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หากเห็นชอบด้วยกันจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่นั้นทั้งนี้ภายใต้หลักเกณฑ์ความเหมาะสมด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งท้องที่นั้น
                  สุขาภิบาลตามพระราชบัญญัตินี้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ สุขาภิบาลสำหรับเมือง ซึ่งจัดตั้งในท้องที่ที่มีความเจริญมากและมีราษฎรตั้งบ้านเรือนอยู่หนาแน่น มีสภาพทางเศรษฐกิจดีและสุขาภิบาลสำหรับตำบล ซึ่งจัดตั้งขึ้นสำหรับท้องที่ในตำบลซึ่งมีความเจริญพอสมควร
                  หน้าที่หลักของสุขาภิบาลคือการรักษาความสะอาด การป้องกันโรคติดต่อหรือโรคระบาด การบำรุงรักษาเส้นทางการสัญจรและการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้งบประมาณในการบริหารจัดการภาษีบางลักษณะที่เก็บได้ในท้องที่นั้น
                  ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีดำริที่จะปรับปรุงระบบการปกครองท้องถิ่นของไทย ให้มีลักษณะเป็นประชาธิปไตยและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น โดยพระองค์ทรงเห็นว่าการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล  น่าจะมีความเหมาะสมนอกจากนั้นยังเป็นการให้ความรู้ทางการปกครองในระบบประชาธิปไตยกับประชาชนด้วยดังนั้น เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน พ.. 2470 ได้ทรงจัดตั้งคณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้นเพื่อศึกษาความเหมาะสม  ในการจัดการปกครองรูปแบบ  municipality  (ซึ่งสมัยนั้นเรียกว่าประชาภิบาล)ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ขึ้นมาทำหน้าที่ยกร่างพระราชบัญญัติเทศบาลตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการการศึกษาความเหมาะสม เมื่อ พ.. 2473 แต่กฎหมายฉบับนี้ก็ไม่ได้ประกาศใช้จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475
                   แม้ว่าในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 จะไม่มีระบบการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทยอย่างชัดเจนมากนัก แต่การจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมและการประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาลตามหัวเมือง ร.. 127 หรือความพยายามให้มีพระราชบัญญัติเทศบาลในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงให้เห็นได้ชัดเจนถึงการพยายามปรับปรุงระบบการปกครองท้องถิ่นตลอดจนมีแนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่นมาเป็นเวลานานแล้ว

พัฒนาการของการปกครองท้องถิ่นไทยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475
การปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาล
                   การจัดตั้งสุขาภิบาลตามหัวเมืองและสุขาภิบาลท้องที่ตามลำดับ ต่อมาหลังจากที่พยายามปรับเปลี่ยนรูปแบบของการปกครองท้องถิ่นมาเป็นรูปแบบเทศบาล การจัดการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลก็ลดบทบาทและความสำคัญลง
ใน พ.. 2495 รัฐบาลเห็นว่าการพยายามจัดตั้งเทศบาลให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลักของประเทศและให้มีเทศบาลทุกตำบล  ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงรื้อฟื้นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลขึ้นมาใหม่  ทั้งนี้เนื่องจากพิจารณาเห็นว่าการจัดตั้งสุขาภิบาลนั้นทำได้ง่าย และใช้งบประมาณไม่มากนัก  อีกทั้งมีความคล่องตัวทางการบริหารตามสมควร อีกประการหนึ่งไม่ค่อยมีปัญหาความขัดแย้งระหว่างการบริหารงานของสุขาภิบาลกับราชการส่วนภูมิภาค ทั้งนี้เนื่องจากมีข้าราชการส่วนภูมิภาคเป็นผู้บริหารและคณะกรรมการในสุขาภิบาลอยู่แล้ว ดังนั้นใน พ.. 2495 จึงได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.. 2495 ซึ่งมีโครงสร้างการบริหารงานแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
                 1) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ นายอำเภอ แห่งท้องที่ซึ่งเป็นที่ตั้งของสุขาภิบาล เป็นประธานกรรมการ หัวหน้าสถานีตำรวจภูธร สาธารณสุขอำเภอ และสมุห์บัญชีอำเภอที่สุขาภิบาลนั้นตั้งอยู่
                 2) กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ของตำบลและหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตสุขาภิบาล
                 3) กรรมการซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในเขตสุขาภิบาลจานวน 4 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
                 พระราชบัญญัติสุขาภิบาลฉบับ พ.. 2495 มีผลใช้บังคับเป็นเวลานานถึง 33 ปี จนกระทั่งถึงปี พ.. 2528 ซึ่งขณะนั้นสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ของประเทศได้เปลี่ยนแปลงไปพอสมควร จึงได้มีการพิจารณาทบทวนหลักการและความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของเนื่องจากเห็นว่าข้าราชการมีบทบาทในการชี้นำการบริหารมากเกินไป ไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยและการปกครองท้องถิ่นมากนัก ในที่สุดได้มีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ..2495 และประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.. 2528 แทน ในส่วนที่แก้ไขปรับปรุงมีประเด็นสำคัญดังนี้
                 1. สุขาภิบาลที่มีรายได้ไม่เกิน 5 ล้านบาท
กรรมการโดยตำแหน่งของสุขาภิบาลได้แก่ นายอำเภอ หรือปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอที่สุขาภิบาลตั้งอยู่เป็นประธาน กำนันตำบลที่อยู่ในเขตสุขาภิบาล และปลัดอำเภอที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งคนหนึ่งเป็นกรรมการโดยการแต่งตั้ง และมีคณะกรรมการสุขาภิบาลซึ่งมาจากการเลือกตั้งจานวน 9 คน มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี ซึ่งในจำนวน 9 คนนี้ให้ที่ประชุมคณะกรรมการเลือกสมาชิกคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นรองประธานมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 1 ปี
                 2. สุขาภิบาลที่มีรายได้เกิน 5 ล้านบาท
พระราชบัญญัติสุขาภิบาลฉบับนี้ยังได้ระบุว่าเมื่อสุขาภิบาลใดมีฐานะทางการคลังเพียงพอที่จะบริหารงานของตนได้ โดยมีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุน ไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ให้กระทรวงมหาดไทยประกาศรายชื่อสุขาภิบาลนั้นในราชกิจจานุเบกษา ให้นายอำเภอพ้นจากตำแหน่งประธานกรรมการสุขาภิบาลไปทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและให้เลือกกรรมการที่มาจากการเลือกตั้งคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นประธานสุขาภิบาล กรณีดังกล่าวนับว่าเป็นกฎหมายที่ทำให้กระทรวงมหาดไทยสูญเสียอำนาจในการควบคุมท้องถิ่นไปมาก
              การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการปกครองท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลเกิดขึ้นเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 โดยในมาตรา285 กำหนดว่าองค์กรปกครองท้องถิ่นต้องมีสมาชิกสภาท้องถิ่น มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ส่วนผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนหรือมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่น
                  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ..2540 จะเห็นได้ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบสุขาภิบาลเป็นการบริหารงานในรูปแบบของคณะกรรมการ มิใช่สภากับฝ่ายบริหาร ดังนั้นจึงขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องมีการแก้ไขหรือยกเลิกพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ และเปลี่ยนแปลงไปใช้รูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอันที่มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งในที่สุดก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล ตำบล พ.. 2542 ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.. 2542

การปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล
         ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีความคิดว่าประเทศไทยควรได้มีการกระจายอำนาจให้ประชาชนปกครองตนเองเช่นเดียวกับในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีระบบการปกครองท้องถิ่นแบบ municipality ซึ่งหมายถึงการให้ประชาชนเลือกตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลขึ้นมาบริหารกิจการของประชาชนในท้องถิ่นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความจำเป็นขั้นพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่าง ๆ
         หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.. 2475 คณะราษฎรมีนโยบายกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ประชาชน และเห็นว่าการปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลมีความเหมาะสมและเป็นรูปแบบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่นิยมกันโดยแพร่หลายในยุโรป และประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าในตะวันตก
          จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาลพุทธศักราช 2476 ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงรูปแบบเดียวที่ปรากฏอยู่ใน พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม
          
            พระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาลพุทธศักราช 2476 ได้กำหนดให้มีเทศบาล 3 ประเภทคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร โดยเรียงลาดับจากท้องที่ที่มีความเจริญน้อย ไปสู่ท้องที่ที่มีความเจริญมากขึ้นตามลำดับ โดยกำหนดให้เทศบาลทุกประเภทมีฐานะเป็นนิติบุคคล และรัฐบาลมีนโยบายเบื้องต้นที่จะจัดตั้งเทศบาลให้ครบทุกตำบลในราชอาณาจักรซึ่งมีอยู่ 4,800 ตำบลแต่ในที่สุดก็ไม่สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย คงมีท้องที่ต่าง ๆ ที่ได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลไม่มากนัก กล่าวคือช่วงปี พ.. 2478-2480 จัดตั้งได้เพียง 95 แห่งเท่านั้น สาเหตุเนื่องมาจากเทศบาลแต่ละแห่งมีสภาพสังคม เศรษฐกิจแตกต่างกันอย่างมากบางเทศบาลมีรายได้น้อยมากไม่พอกับการบริหารกิจการของเทศบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนั้นประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอ จึงทำให้การบริหารงานปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลไม่บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้คาดหมายไว้ต่อมาใน พ.. 2481 และ พ.. 2486 ได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.. 2476 และพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2481 ตามลาดับ
           เมื่อจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรีได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติเทศบาลที่ยังคงใช้มาจนถึงปัจจุบันแต่ก็ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงจานวน 16 ครั้ง
           องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลนับว่ามีความสำคัญมากเนื่องจากครอบคลุมพื้นที่ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจของประเทศ (เขตเมือง) เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลจึงควรได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพทางการบริหารเพื่อให้สามารถตอบสนองกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและระบบการบริหารจัดการเมืองต่าง ๆ

การปกครองท้องถิ่นรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด
           จุดกำเนิดของการปกครองท้องถิ่นรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัดเริ่มต้นจากส่วนที่เรียกว่า สภาจังหวัด ซึ่งได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พุทธศักราช 2476 ประกอบด้วยสมาชิกสภาจังหวัดซึ่งมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในเขตจังหวัดมีอำนาจในการทำหน้าที่ให้คาปรึกษาแก่รัฐบาลแบ่งสรรเงินอุดหนุนให้แก่เทศบาลในเขตจังหวัด รวมถึงตรวจสอบการทำงานของเทศบาลในเขตจังหวัดตลอดจนเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดในกิจการเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ไม่ได้มีฐานะเป็นองค์กรบริหารหรือนิติบุคคลแต่อย่างใด ต่อมาใน พ.. 2481ได้มีการตรา พระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.. 2481 ขึ้นเพื่อแยกสภาจังหวัดออกจากเทศบาลสมาชิกสภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตจังหวัดทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาคณะกรมการจังหวัด ซึ่งต่อมาเมื่อ พ.. 2495 ได้โอนอำนาจของคณะกรมการจังหวัดเป็นของผู้ว่าราชการจังหวัด สภาจังหวัดจึงทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ก็มิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล
                 ดังนั้นจึงได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2498 ซึ่งมีสาระสำคัญคือได้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีงบประมาณ บุคลากร และสามารถตรากฎหมายของท้องถิ่นขึ้นบังคับใช้ภายในท้องถิ่นของตนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ ตลอดจนรับผิดชอบดูแลพื้นที่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาลภายในจังหวัดหนึ่งๆ โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย 2 ส่วนคือสภาจังหวัดและฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด
1. สภาจังหวัด
ประกอบด้วยสมาชิกสภาจังหวัด (..) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีจานวน 18 - 36 คน ขึ้นอยู่กับจำนวนประชากรในจังหวัดนั้น มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี ทำหน้าที่ในการออกกฎหมายที่อยู่ในเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด นอกจากนั้นทำหน้าที่ควบคุมและตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ถาม การเป็นกรรมการสภาจังหวัดชุดต่าง ๆ เป็นต้น
2. ฝ่ายบริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัด
ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดทำหน้าที่เสมือนเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดจังหวัดทำหน้าที่เสมือนเป็นปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยตำแหน่ง นายอำเภอทุกอำเภอทำหน้าเสมือนเป็นที่เป็นหัวหน้าส่วนอำเภอ และมีผู้ปฏิบัติงานประจำเรียกว่าข้าราชการส่วนจังหวัด
             ในปี พ.. 2540 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดครั้งสำคัญ ส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดไม่มีพื้นที่ดำเนินการเนื่องจากมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลและอีกส่วนหนึ่งมาจากกระแสประชาธิปไตยที่เรียกร้องให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองท้องถิ่น
และให้รัฐบาลเร่งให้มีการกระจายอำนาจมากขึ้นซึ่งพรรคการเมืองเกือบทุกพรรคใช้เป็นจุดหลักในการแถลงนโยบายเรื่องการกระจายอำนาจให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในการรณรงค์การเลือกตั้ง ดังนั้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.. 2540 จึงได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.. 2498 และที่แก้ไขเพิ่มเติมทั้งหมดและประกาศใช้ พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.. 2540

การปกครองท้องถิ่นรูปแบบองค์การบริหารส่วนตำบล
              การจัดระบบการปกครองท้องถิ่นในระดับตำบล หมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นฐานรากของการปกครองประเทศอย่างแท้จริง แม้จะได้มีการจัดระบบการปกครองท้องที่ในระดับตำบล หมู่บ้าน ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและได้ปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.. 2457 ซึ่งทำให้การจัดระบบการปกครองในชนบทเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตลอดมาก็ตาม แต่การปกครองท้องที่ในลักษณะการปรึกษาหารือในรูปของสภาท้องถิ่น ไม่ใช่ตัดสินใจโดยคนเดียว ในขณะเดียวกันมีองค์กรการบริหารซึ่งมีความเป็นอิสระ (autonomy) ในการดำเนินกิจการของท้องถิ่นมิใช่รับคำสั่งในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการปกครองส่วนภูมิภาคดังเช่นระบบกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ..2457 ก็ยังไม่เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นการพยายามจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เหมาะสมกับชนบทจึงดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดการจัดตั้งเทศบาลตำบลให้ครบทุกตำบลหรือองค์การบริหารส่วนจังหวัดก็ดี แต่เมื่อศึกษาในภาพรวมแล้วทั้งรูปแบบเทศบาลตำบลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด ก็ยังมิใช่รูปแบบการปกครองท้องถิ่นที่เหมาะสมกับชนบทระดับตำบลและหมู่บ้านอย่างแท้จริง
1. การจัดระบบการบริหารตำบลตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 222/2499 ให้ทุกตำบลจัดตั้งสภาตำบลและคณะกรรมการตำบลขึ้น
1.1 สภาตำบลประกอบด้วยสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งของราษฎร หมู่บ้านละ 2 คน หรือจากการคัดเลือกของนายอำเภอโดยการปรึกษากรรมการหมู่บ้านหรือกรรมการตำบล โดยมีนายอำเภอท้องที่หรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมายทำหน้าที่เป็นประธานสภาตำบลและให้คัดเลือกครูประชาบาลหรือราษฎรคนหนึ่งทำหน้าที่เป็นเลขานุการสภาตำบล
2. การจัดระบบการบริหารตำบลตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.. 2499
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติคือให้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีรายได้และรายจ่ายตลอดจนบุคลากรเป็นของตนเองมีความคล่องตัวทางการบริหารตามสมควร อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายของนายอำเภอ
องค์การบริหารส่วนตำบลประกอบด้วยสภาตำบลและคณะกรรมการตำบลเช่นเดียวกับสภาตำบลแต่มีความแตกต่างกันในรูปแบบของบุคคลที่เป็นกรรมการ ดังนี้
2.1 สภาตำบล ประกอบด้วยกำนันและผู้ใหญ่บ้านทุกคน ในตำบลเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และสมาชิกสภาตำบลหมู่บ้านละ1 คนซึ่งราษฎรเลือกตั้งมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี
2.2 คณะกรรมการตำบล ประกอบด้วย กำนันท้องที่เป็นประธาน แพทย์ประจำตำบล ผู้ใหญ่บ้านทุกคนในตำบล และกรรมการซึ่งนายอำเภอแต่งตั้งจากครูใหญ่ของโรงเรียน หรือผู้ทรงคุณวุฒิ อีกไม่เกิน 5 คน
               ต่อมาในปี พ.. 2511 ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้เล็กน้อยเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานยิ่งขึ้น และในปี พ.. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326/2515 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 สั่งให้ยกเลิกพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบลแบบ สภาตำบล ซึ่งมีการปรับโครงสร้างใหม่ โดยมีเพียงส่วนการบริหารเรียกว่า คณะกรรมการสภาตำบล
3. การจัดระบบการบริหารตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.. 2537
         วันที่ 2 ธันวาคม พ.. 2537 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.. 2537 ซึ่งกำหนดให้สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและมีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
3.1 สภาตำบล หมายถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้น
3.2 องค์การบริหารส่วนตำบล หมายถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อตำบลที่มีรายได้ทุกประเภท

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ    องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นเป็นกรณีพิเศษตามกฎหมายเฉพาะของตนเองซึ่งในปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
1. กรุงเทพมหานคร
1.1 วิวัฒนาการของกรุงเทพมหานคร
การปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วง คือ การปกครองแบบราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น (.. 2476-2514) การยุบรวมจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรี (.. 2514-2518) และการปกครองแบบท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (.. 2518-ปัจจุบัน)
1.1.1 การปกครองแบบราชการส่วนภูมิภาคและท้องถิ่น
หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ..2475 และรัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2476 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักในการกำหนดรูปแบบโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน ในกฎหมายดังกล่าวได้แบ่งระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศออกเป็น 3 ส่วน คือ ราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งได้แก่ กระทรวง และกรมต่าง ๆ ส่วนภูมิภาคได้แก่ จังหวัดและอำเภอทั่วประเทศ ส่วนท้องถิ่น
         ต่อมาเมื่อปี พ.. 2498 หลังจากได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.. 2498 ซึ่งกำหนดให้จังหวัดต่าง ๆ มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้นในฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดูแลรับผิดชอบเขตพื้นที่นอกจากเขตเทศบาลและสุขาภิบาล ในส่วนของจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีก็ได้จัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครและองค์การบริหารส่วนจังหวัดธนบุรีขึ้นตามกฎหมายนี้ ดังนั้นการปกครองจังหวัดพระนครและธนบุรีจึงประกอบด้วยระบบการบริหารราชการส่วนภูมิภาค(จังหวัด อำเภอ) ซึ่งเป็นระบบหลักและระบบการปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล สุขาภิบาล และองค์การบริหารส่วนจังหวัด)ในฐานะการปกครองส่วนท้องถิ่น
ในปี พ.. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ทารัฐประหารยึดอำนาจการปกครองประเทศ และมีความเห็นว่าจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีควรได้มีการยุบรวมเป็นจังหวัดเดียวกันเพื่อให้เป็นรูปแบบเฉพาะสำหรับการบริหารเมืองหลวงอีกทั้งก่อให้เกิดความประหยัดและสะดวกต่อประชาชนในการรับบริการมากยิ่งขึ้นจึงมีประกาศคณะปฏิวัติที่ 24 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2514 ให้ 70  รวมจังหวัดพระนครกับจังหวัดธนบุรีและเรียกว่า นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และรวมองค์การบริหารส่วนจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเข้าด้วยกันเรียกว่าองค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี ในวันต่อมาก็ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 25 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2514 ให้รวมเทศบาลนครกรุงเทพกับเทศบาลนครธนบุรีเข้าด้วยกันเรียกว่า เทศบาลนครหลวง
            ต่อมาในปี พ.. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 335 ปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารราชการของนครหลวงกรุงเทพธนบุรีอีกครั้งโดยการรวมเอาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค คือ นครหลวงกรุงเทพธนบุรี องค์การบริหารนครหลวงกรุงเทพธนบุรี และเทศบาลนครหลวงตลอดจนสุขาภิบาลทุกแห่งเข้าด้วยกัน และจัดรูปแบบการบริหารราชการใหม่ เรียกว่า กรุงเทพมหานคร ขึ้นเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.. 2515 และมีฐานะเป็น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ซึ่งมีโครงสร้างทางการบริหารแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นฝ่ายบริหารและสภากรุงเทพมหานครซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติในปี พ.. 2517ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2517 ซึ่งถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นประชาธิปไตยมากที่สุด นับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.. 2475 และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่นอย่างชัดเจน มาตราที่สำคัญคือมาตรา 216 ซึ่งบัญญัติว่าการปกครองท้องถิ่นทุกระดับ รวมทั้งนครหลวง ให้มีสภาท้องถิ่นและผู้บริหารหรือคณะผู้บริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
          ในปี พ.. 2518 ได้มีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.. 2518 ซึ่งมีสาระสำคัญ คือ ให้กรุงเทพมหานครเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษในเขตนครหลวงและมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีสถานะเป็นนิติบุคคล มีงบประมาณและบุคลากรเป็นของตนเอง การบริหารงานใช้รูปแบบสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมถึงให้ประชาชนมีอำนาจเข้าชื่อถอดถอนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.. 2518 นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองท้องถิ่นรูปแบบพิเศษที่สมบูรณ์เนื่องจากมีการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยประชาชน มิใช่การแต่งตั้งเหมือนที่ผ่านมา พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้มาจนถึง พ.. 2528 (ยกเว้นช่วง พ.. 2519-2521ได้มีการรัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้มีการออกคำสั่งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่งและแต่งตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภากรุงเทพมหานครเข้าไปแทน)
ใน พ..2528 จึงได้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.. 2518 และประกาศใช้พระราชบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.. 2528 ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบันโดยหลักการทั่วไปก็ยังคงคล้ายคลึงกับฉบับ พ.. 2518 แต่มีการปรับปรุงส่วนที่เป็นรายละเอียดต่างๆให้มีความสมบูรณ์และสะดวกคล่องตัวขึ้น
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.. 2528 จนถึงปัจจุบันนี้ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 2 ) เมื่อปี พ.. 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 3) เมื่อปี พ.. 2539 แก้ไขเพิ่มเติม (ครั้งที่ 4)เมื่อปี พ.. 2542 ซึ่งเป็นการแก้ไขครั้งล่าสุดเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540
2. เมืองพัทยา
เมืองพัทยาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กำหนดขึ้นหลังสุดในบรรดาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่าง ๆ ในประเทศไทยโดยมีจุดกำเนิดมาจากหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ แห่งหนึ่งในตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศและเมืองหลวงในช่วงปี พ.. 2510- 2520 ได้มีส่วนทำให้พัทยามีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความสวยงามของภูมิประเทศเมืองชายทะเลและระยะทางที่ไม่ไกลจากกรุงเทพ ทำให้ชนชั้นกลางซึ่งมีรายได้สูงพากันหลั่งไหลไปพักผ่อนท่องเที่ยวที่พัทยาเป็นจำนวนมากส่งผลให้เศรษฐกิจของพัทยาเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วจากธุรกิจการท่องเที่ยว
          เมื่อ พ.. 2521 กระทรวงมหาดไทยได้เสนอร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยาและรัฐสภาได้อนุมัติร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในปีเดียวกัน สาระสำคัญของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.. 2521 สรุปได้ดังนี้
1) ให้เมืองพัทยาเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษภายใต้แนวคิดแบบผู้จัดการเมือง และมีฐานะเป็นนิติบุคคลมีทรัพย์สินและบุคลากรเป็นของตนเอง
2) โครงสร้างทางการบริหารประกอบด้วย 2 ส่วน คือ สภาเมืองพัทยา และฝ่ายบริหาร
2.1) สภาเมืองพัทยา ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภทคือประเภทมาจากการเลือกตั้งของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตเมืองพัทยาจานวน 9 คน และสมาชิกประเภทแต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยอีกจานวน 8 คน สมาชิกสภาเมืองพัทยาทั้ง 2 กลุ่มมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี
2.2) ฝ่ายบริหาร ได้แก่ ปลัดเมืองพัทยาซึ่งเข้ามาบริหารกิจการของเมืองพัทยาโดยการทำสัญญาว่าจ้างของนายกเมืองพัทยาภายใต้ความยินยอมของสภาเมืองพัทยา มีอายุสัญญาจ้างคราวละ 4 ปี โดยบริหารงานภายใต้การควบคุมดูแลของสภาเมืองพัทยา
        ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ของการบริหารงานภายใต้รูปแบบผู้จัดการเมือง เมืองพัทยาประสบปัญหาความยุ่งยากทั้งทางด้านการเมืองและการบริหารค่อนข้างมาก อันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างฝ่ายการเมือง (สมาชิกสภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยา) กับปลัดเมืองพัทยา ดังจะเห็นได้ว่าในช่วงตั้งแต่จัดตั้งเมืองพัทยาเมื่อปี พ.. 2521 จนถึงปี พ.. 2542 มีการเปลี่ยนแปลงปลัดเมืองพัทยามากกว่า 10 คน อายุการปฏิบัติงานเฉลี่ยเพียงคนละปีเศษเท่านั้น นอกจากนั้นก็มีปัญหาอื่น ๆ เช่นปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอ ปัญหาการควบคุมจากส่วนกลาง ปัญหาระเบียบกฎหมายในการบริหารที่ยังขาดความคล่องตัว ซึ่งกระทรวงมหาดไทยก็ได้มีการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารงานของเมืองพัทยามาโดยตลอด เช่น เรื่องการกระจายอำนาจให้เมืองพัทยามากขึ้น การปรับปรุงระบบภาษีอากรและรายได้ของเมืองพัทยา การปรับปรุงระบบการบริหารงานบุคคล ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของเมืองพัทยา เป็นต้น อย่างไรก็ตามตั้งแต่ พ.. 2521-2542 ก็ไม่ได้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.. 2521 จนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 ทำให้กฎหมายเดิมมีหลายประเด็นซึ่งขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ จึงได้ยกเลิกกฎหมายฉบับเดิมและประกาศใช้กฎหมายฉบับใหม่ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.. 2542

งานท้องถิ่นไทย



1.จงอธิบายถึงบทบาทและความสำคัญของการปกครองท้องถิ่นในระบอบประชาธิปไตย
           หน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานการปกครองท้องถิ่น ควรจะต้องพิจารณาถึงกำลังเงินกำลังงบประมาณ กำลังคน กำลังความสามารถของอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ และหน้าที่ความรับผิดชอบควรเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่นอย่างแท้จริง
หากเกินกว่าภาระ หรือเป็นนโยบายซึ่งรัฐบาลต้องการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งประเทศ ก็ไม่ควรมอบให้ท้องถิ่นดำเนินการ เช่น งานทะเบียนที่ดิน การศึกษาในระดับอุดมศึกษา
การกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบให้หน่วยการปกครองท้องถิ่นดำเนินการ มีข้อพิจารณาดังนี้
1.  เป็นงานที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น และงานที่เกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ได้แก่ การจัดทำถนน สะพาน สวนหย่อม สวนสาธารณะ การกำจัดขยะมูลฝอย เป็นต้น
2.  เป็นงานที่เกี่ยวกับการป้องกันภัย รักษาความปลอดภัย เช่น งานดับเพลิง
3.  เป็นงานที่เกี่ยวกับสวัสดิการสังคม ด้านนี้มีความสำคัญต่อประชาชนในท้องถิ่นมาก เช่น การจัดให้มีหน่วยบริการทางสาธารณสุข จัดให้มีสถานสงเคราะห์เด็กและคนชรา เป็นต้น
4.  เป็นงานที่เกี่ยวกับพาณิชย์ท้องถิ่น เป็นงานที่หากปล่อยให้ประชาชนดำเนินการเองอาจไม่ได้รับผลดีเท่าที่ควรจะเป็น
จัดให้มีโรงจำนำ การจัดตลาดและงานต่าง ๆ ที่มีรายได้โดยสามารถเรียกค่าบริการจากประชาชน
ความสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น
1.  การปกครองท้องถิ่น คือ รากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เพราะการปกครองท้องถิ่นจะเป็นสถาบัน  ฝึกสอนการเมืองการปกครองให้แก่ประชาชน ให้ประชาชนรู้สึกว่าตนมีความเกี่ยวพันมีส่วนได้ส่วนเสียในการปกครอง การบริหารท้องถิ่น เกิดความรับผิดชอบ และหวงแหนต่อประโยชน์อันพึงมีต่อท้องถิ่นที่ตนอยู่อาศัยอันจะนำมาซึ่งความ ศรัทธาเลื่อมใสในระบอบการปกครองประชาธิปไตยในที่สุด
2.  การปกครองท้องถิ่นทำให้ประชาชนรู้จักท้องถิ่นการปกครองตนเอง (Self Government) หัวใจของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประการหนึ่งก็คือ การปกครองตนเองมิใช่เป็นการปกครองอันเกิดจากคำสั่งเบื้องบน โดยเป็นการที่ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง ซึ่งผู้บริหารท้องถิ่นนอกจากจะได้รับเลือกตั้งมาเพื่อรับผิดชอบบริหารท้อง ถิ่นโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากประชาชนแล้ว ผู้บริหารท้องถิ่นจะต้องฟังเสียงประชาชนด้วยวิถีทางประชาธิปไตยประชาชนออก เสียงประชามติ (Reference) ให้ประชาชนมีอำนาจถอดถอน (Recall) ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกิดความสำนึกในความสำคัญของตนเองต่อท้องถิ่น และมีส่วนรับรู้ถึงปัญหาและแก้ไขปัญหาท้องถิ่นของตน
3.  การปกครองท้องถิ่นเป็นการแบ่งเบาภาระของรัฐบาล ซึ่งเป็นหลักสำคัญของการกระจายอำนาจ เนื่องจากภารกิจของรัฐบาลมีอยู่อย่างกว้างขวาง นับวันจะขยายเพิ่มขึ้น ขณะที่แต่ละท้องถิ่นย่อมมีปัญหาและความต้องการที่แตกต่างกัน ประชาชนจึงเป็นผู้มีความเหมาะสมที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นนั้น มากที่สุด และกิจการบางอย่างเป็นเรื่องเฉพาะท้องถิ่น ไม่เกี่ยวกับท้องถิ่นอื่น ๆ และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียต่อประเทศโดยส่วนรวม จึงเป็นการสมควรที่จะให้ประชาชนท้องถิ่นดำเนินการดังกล่าวเอง ทั้งนี้การแบ่งเบาภาระดังกล่าวทำให้รัฐบาลมีเวลาที่จะดำเนินการในเรื่องที่ สำคัญ ๆ หรือกิจการใหญ่ ๆ ระดับชาติอันเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยส่วนรวม และมีความคล่องตัวในการดำเนินงานของรัฐบาลจะมีมากขึ้น